นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ภาษาไทย: หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ: Master of Laws

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : นิติศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ : น.ม.
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Laws
ชื่อย่อ : LL.M.

ปรัชญาของหลักสูตร
กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดบรรทัดฐานความประพฤติของผู้คนเพื่อจัดระเบียบสังคม กำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลฝ่ายต่าง ๆ สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ตลอดจนทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคมได้ ซึ่งกฎหมายที่ดีและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมปัจจุบันของสังคมนั้นด้วย ในโลกปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศชาติสามารถใช้ความเปลี่ยนแปลงได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย 

ดังนั้น หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตหลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักกฎหมายที่สามารถเปลี่ยนปัญหาอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นโอกาสในการพัฒนาของประเทศ โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาของหลักสูตรจะเป็นนักกฎหมายที่มีความรู้ทางทฤษฎีกฎหมายอย่างลึกซึ้งในสาขาหลัก อันได้แก่กฎหมายแพ่ง อาญา มหาชนและระหว่างประเทศ รวมไปถึงความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล มีความสามารถในการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องและนำมาดำเนินกระบวนการวิจัยในทางกฎหมายเพื่อสร้างข้อเสนอหรือมาตรการทางกฎหมายที่สามารถพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นผู้มีจริยธรรมการทางวิชาการและการวิจัย ยึดมั่นในการเป็นนักกฎหมายที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีทักษะในการบริหารจัดการและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเกื้อกูลในสังคมพหุวัฒนธรรม


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในแนวคิดและทฤษฎีกฎหมายในสาขาหลักอันได้แก่กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายมหาชนและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถใช้ความรู้ดังกล่าวในการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ บัณฑิตยังมีทักษะในการผลิตงานวิจัยทางกฎหมายอย่างมีจริยธรรมโดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน สามารถใช้ข้อมูลทางสถิติเบื้องต้นและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประกอบการทำงานวิจัย และสามารถสร้างข้อเสนอหรือมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์สังคมในรูปแบบทางวิชาการที่สามารถเผยแพร่ได้ในระดับชาติหรือนานาชาติและถูกต้อง นอกจากนี้ บัณฑิตยังมีทักษะในการบริหารจัดการต่าง ๆ สามารถวางแผน ประสานงานบุคคลฝ่ายต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทางกฎหมายให้กับสังคมได้ และสามารถทำงานร่วมกับสหวิชาชีพในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม

สามารถทำงานวิจัยกฎหมายในเชิงพื้นที่ได้

  1. บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม อาทิ ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ตุลาการศาลปกครอง
  2. พนักงานคดีปกครอง
  3. นิติกรของหน่วยงานราชการ หรือฝ่ายกฎหมายในภาคเอกชน
  4. ทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมาย
  5. อาจารย์ และนักวิชาการ/นักวิจัยด้านกฎหมายและสังคมศาสตร์
  6. วิชาชีพอื่น ๆ

  • PLO1 แสดงออกซึ่งจริยธรรมทางวิชาการและการวิจัย และยึดมั่นในการเป็นนักกฎหมายที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม 
  • PLO2 อภิปรายเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง อาญา มหาชน ระหว่างประเทศ เทคโนโลยีดิจิทัลกับระเบียบวิธีวิจัยได้อย่างถูกต้อง
  • PLO3 สร้างข้อเสนอหรือมาตรการทางกฎหมายแบบบูรณาการเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์
  • PLO4 มีทักษะในการบริหารจัดการและทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างเกื้อกูลในสังคมพหุวัฒนธรรม
  • PLO5 วิเคราะห์ข้อมูลทางกฎหมายโดยใช้สถิติเบื้องต้น เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อการสร้างข้อเสนอแนะทางกฎหมายและสื่อสารทางวิชาการในรูปแบบที่หลากหลาย
  • PLO6 ผลิตงานวิจัยทางกฎหมายหรือผลงานวิชาการทางกฎหมายด้วยกระบวนการวิจัยอย่างมีจริยธรรม

สาขานิติศาสตร์ แผน ก 1 ก 2 และ แผน ข จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 140,000.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000.- บาท

แผน ก แบบ ก1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แผน ก แบบ ก2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
       
แผน ข  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 15 หน่วยกิต
    3. หมวดการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
       

อ้างอิงจาก หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต พ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 9 ส.ค. 65