เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้สถานการณ์การเมืองไทยหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557

หมวดหมู่ข่าว: law-more for law

          หลักสิทธิมนุษยชนกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่กาเนิด ไม่มีใครสามารถมาพรากเอาออกไปจากตัวเราได้และการแสดงความคิดเห็นยังถูกรับรองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้นจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเปิดโอกาสให้มนุษย์ทุกคนสามารถที่จะพูดหรือแสดงออกในสิ่งที่ตนเองคิดได้อย่างอิสระ เสรี การปิดกั้นการพูดหรือการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่เหมาะสม ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเป็นอย่างมาก

          จากการเข้ายึดอำนาจรัฐประหารส่งผลให้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีมาตรา 44 ที่ให้อำนาจแก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติในการบริหารประเทศในทุก ๆ ด้าน มาตราดังกล่าวเมื่อพิจารณาจะเห็นว่าขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตย ในกรณีนี้เป็นการตรากฎหมายมาเพื่อให้อำนาจแก่ตนซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หลักประชาธิปไตยที่ดีนั้นรัฐจะต้องถูกจากัดอำนาจผูกพันกับกฎหมายเพื่อป้องกันไม่ให้รัฐใช้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแก่ประชาชน

          ผลจากการใช้อำนาจโดยไม่ชอบตามหลักประชาธิปไตยของของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยการจากัดเสรีภาพประชาชนในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติใช้กฎหมายมาตรา 44 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติออกประกาศคาสั่งต่าง ๆ ที่เป็นการจากัดสิทธิ เสรีภาพไม่ว่าจะเป็นการห้ามประชาชนรวมทั้งสื่อจัด14

          กิจกรรมหรือแสดงความคิดเห็นที่มีเนื้อหาส่อไปในทางการเมือง หากมีการฝ่าฝืนคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีหมายเรียกให้มารายงานตัวหรือเรียกมาปรับทัศนคติ ถ้ามีการหลบหนีไม่มารายงานตัวตามหมายเรียกก็จะมีการออกหมายจับ การออกประกาศคาสั่งดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยไม่คานึงถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน การใช้เสรีภาพเป็นอิสรภาพบุคคลที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามความประสงค์ของตนโดยไม่อยู่ภายใต้การกดขี่ของรัฐ เว้นแต่อยู่ภายใต้กรอบกติกาที่กฎหมายกาหนดไว้28 เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ในหลักประชาธิปไตย เสรีภาพคือกุญแจสำคัญที่จะนาไปสู่ความก้าวหน้าของสังคมและทาให้ประชาธิปไตยเจริญงอกงาม

          อีกทั้งการกระทำของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เนื่องจากจากัดเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขียน การโฆษณา การชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ การนาเสนอข่าวข้อเท็จจริงของสื่อ หรือการแสดงความคิดเห็นในสื่อออนไลน์ รัฐจะต้องมีการคุ้มครองการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น ผลจากการที่รัฐและคณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่คานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนี้ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ดีนั้นต้องจะเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงออกซึ่งสิทธิ เสรีภาพได้อย่างเต็มที่โดยการใช้เสรีภาพต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้เสรีภาพของประชาชน กับความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

          ผู้เขียนในฐานะที่เป็นนักศึกษาผู้สนใจในวิชากฎหมายมหาชนและเป็นประชาชนคนหนึ่งที่อยู่อาศัยในประเทศไทยซึ่งในขณะนี้มีการจากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง จึงมีความเห็นว่ารัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มองว่าตนเองและคณะยึดถือหลักประชาธิปไตยเป็นหลักในการบริหารประเทศ รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติควรที่จะยุติการใช้อำนาจโดยมิชอบจากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้เสรีภาพได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ผู้เขียนยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  1. รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันโอชา เข้ามาโดยการรัฐประหารซึ่งเป็นการเข้ามาโดยมิชอบตามหลักประชาธิปไตยและได้เข้ามาบริหารประเทศเป็นเวลาหลายปีแล้วและใช้อำนาจจากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ทั้งนี้รัฐบาลต้องนึกถึงหลักประชาธิปไตย ควรจัดให้มีการเลือกตั้งเพราะเป็นการแสดงเจตจานงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของสิทธิในอันที่จะมอบความไว้วางใจให้ผู้ที่ตนเองเลือกเข้าไปใช้อำนาจแทนตนในการทาหน้าที่ที่จะสะท้อนปัญหากับรัฐบาลให้บริหารจัดการประเทศตรงกับความต้องการของประชาชนจะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่สามารถเป็นเครื่องมือในการเลือกตัวแทนของตนเข้าไปจัดการบริหารอำนาจการปกครองอันจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและสังคมโดยรวมต่อไป29
  2. มาตรา 44 ถือเป็นอำนาจที่อยู่เหนือฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ถือเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการออกประกาศคาสั่งต่าง ๆ ที่กระทบต่อเสรีภาพของประชาชนชาวไทย เห็นควรที่รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะยกเลิกมาตรา 44 ทิ้งเสียเพราะทุกการกระทำภายภายใต้กฎหมายนี้ ถูกต้องไปโดยสิ้นเชิง โดยไม่สามารถนากฎหมายอื่นมาตรวจสอบหักล้างได้ทาให้ระบบยุติธรรมไทยเข้าสู่ความล่มสลายจนขาดความน่าเชื่อถือ
  3. รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติควรหยุดใช้อำนาจรังแกประชาชนกล่าวคือ ต้องไม่ใช้อำนาจจากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ต้องไม่กระทำการใดๆ ที่ทาให้ประชาชนไม่ได้รับเสรีภาพที่ได้รับการรับรอง จะต้องปกป้องไม่ให้กลุ่มบุคคลหรือองค์กรเหล่านั้นกระทำการใดๆที่ทาให้ประชาชนไม่สามารถใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับเสรีภาพที่ถูกรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงหลักสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

          สุดท้ายนี้จากการศึกษาที่ผ่านมาผู้เขียนก็ยังคงยืนยันว่า การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเรื่องที่ดีที่ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในทางการเมือง ทั้งนี้สังคมที่เป็นประชาธิปไตยจะเจริญงอกงามได้ต้องมาจากการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายรูปแบบ การจากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย โดยผู้เขียนนั้นยึดถือหลัก “การมีอิสระที่จะกระทำสิ่งใดๆ โดยต้องไม่ละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น”

  • 16143 ครั้ง