ว่าด้วยนักศึกษา สิทธิมนุษยชน และการทำธุรกิจ

Categories: law-more for law

แนะนำตัวก่อนนะครับ สวัสดีครับ ผมชื่อ นฤดล พิมพ์นนท์ นักศึกษาสำนักวิชานิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เนื่องในวาระครบรอบ 70 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน องค์การสหประชาชาติ (United Nation) กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs) กระทรวงยุติธรรม (Ministry of justice) และสมาพันธ์นักศึกษากฎหมายแห่งเอเชีย (ALSA) รวมจัดโครงการอบรมเยาวชนแห่งเอเชีย เรื่อง ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ซึ่งผมได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วม ในที่นี่ผมจะเล่าถึงประสบการณ์ในการเข้าร่วม ในกิจกรรมต่างๆเราร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีนักศึกษาจากต่างชาติเข้าร่วมด้วยหลายประเทศ การบรรยายที่กระทรวงการต่างประเทศ การเยี่ยมชมองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย และการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับโลกหลายท่าน อาทิ Porf.Surya Dava Porf.Livio Sarandrea คณะทำงานองค์การสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Working Group) การบรรยายพิเศษจะกล่าวถึงความเกี่ยวข้องของธุรกิจในการรับผิดชอบ หลักการเยียวยา และการปกป้องเป็นหน้าที่ของรัฐและภาคธุรกิจที่จะต้องร่วมกระทำ โดยนำกรณีศึกษาจากบริษัทชั้นนำของโลก เช่น Foxconn Nike เป็นต้น ระบบห่วงโซ่อุปทานที่อาจจะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ ประเด็นกฎหมายที่ยังเป็นปัญหาในการตีความและการบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาการคุ้มครองนอกราชอาณาจักร การเลือกปฏิบัติของการรับเข้าทำงานของผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ การเหยียดเพศ การทำงานของนักสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมและการถูกคุกคามของนักสิทธิมนุษยชน การจัดทำ HRDD (Human Right Due Diligence)  ในการสำรวจของภาคธุรกิจว่ามีการละเมิดสิทธิหรือไม่ และกิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ Innovation lab โดยที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับหมอบหมายให้เป็นตัวแทนแต่ละประเทศ ที่กลุ่มคณะทำงานที่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศต่างๆทั่วโลก ประเด็นปัญหาของแต่ละประเทศว่ามีประเด็นอย่างไรบ้าง และจะแก้ปัญหาอย่างไรให้เป็นรูปธรรมและสามารถปฏิบัติได้จริง เปรียบเสมือนการจำลองของทำงานจริงของ UN Working Group เพราะเราจะต้องปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมสร้างเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนของเยาวชนแห่งเอเชีย และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ทัศนคติ ความรู้ของนักศึกษาในไทยละต่างประเทศ ร่วมด้วยภาคธุรกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วม ในการสร้างแรงบันดาลใจ สำหรับอนาคตที่เยาวชนนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการพิทักษ์สิทธิมนุษยชน รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจและภาครัฐ และกิจกรรมนี้ถือเป็นกิจกรรมที่ดีมาก ที่ทำให้ผมได้พบกับเพื่อนชาวต่างชาติและเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย ที่ทำให้เกิดมุมมองในระดับสากล

ในกิจกรรมต่อไปหากมีโอกาส ผมอยากจะขอเชิญชวนเพื่อน พี่ๆ นักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมเพื่อเปิดประสบการณ์ทางวิชาการ ท้ายนี้ขอบพระคุณอาจารย์อริศรา เหล็กคำ อาจารย์ปรึกษาและอาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้สนับสนุนเอกสารทางวิชาการและคำแนะนำที่ทำให้ได้ผมเข้าร่วมโครงการนี้ครับ

  • 974