ปัญหาการทำแท้งและค้าประเวณีในประเทศไทย

หมวดหมู่ข่าว: law-more for law

ปัญหาการทำแท้งและค้าประเวณีในประเทศไทย

โดย รัตติกาล มณียศ และ รัตน์วดี วิเศษรัตน์

          ปัญหาการทำแท้งและการค้าประเวณีเป็นปัญหาที่แทรกซึมอยู่ในทุกสังคม ชนชั้น และอยู่ในทุกประเทศ โดยในแต่ละประเทศการแก้ปัญหาการทำแท้งและการค้าประเวณีก็ต่างกันออกไป โดยหลายประเทศได้เริ่มการแก้ปัญหาเหล่านี้โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักการกำหนดใจตนเองของประชาชน

          ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คือข้ออ้างสำคัญของปัญหาเหล่านี้ และยังเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่หลายประเทศเลือกเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาการทำแท้งและการค้าประเวณี ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คือสิ่งที่บุคคลใด ๆ ยึดถือไว้ด้วยตนเอง อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นี้ไม่อาจบรรทัดฐานได้โดยสังคม คือการที่ไม่มีใครสามารถบังคับได้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลหนึ่งเป็นเช่นไร และมีความถูกและผิดอย่างไร หากสิ่งนั้นไม่ก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่นและไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ใด

          หลักการกำหนดใจตนเอง ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ก็เป็นอีกทฤษฎีที่ถูกยกขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการทำแท้งและการค้าประเวณีโดยหลักการกำหนดใจตนเองคือ หลักการที่อธิบายถึงสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกด้วยตนเองว่าตนจะเลือกทางเดินชีวิตของตนเองอย่างไร และเลือกที่จะกำหนดอนาคตของตนด้วยตัวเอง ไม่มีใครสามารถบังคับได้ หากมีการกระทาใดที่เป็นการบังคับไม่ให้มนุษย์เลือกกระทา หรือไม่กระทาสิ่งใดก็ถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

          ประเทศที่มีปัญหาการทำแท้งและมีกฎหมายที่บัญญัติว่าการทำแท้งเป็นสิ่งผิดกฎหมายเช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งภายหลังได้ปฏิรูปกฎหมายและนาหลักการเหล่านี้มาปรับใช้กับการตรากฎหมายคือประเทศอังกฤษที่อนุญาตให้มีการทำแท้งได้หากการทำแท้งนั้นเข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ต้องผ่านการเห็นชอบของแพทย์อย่างน้อยสองคน และหญิงนั้นมีอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ โดยภายหลังการปฎิรูปกฎหมายดังกล่าว ปัญหาการทำแท้งเถื่อนจนก่อให้เกิดอันตรายในประเทศอังกฤษได้ลดจานวนลงจนแทบจะไม่มีเกิดขึ้นเลยเพราะการทำแท้งทาโดยผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญจึงมีความปลอดภัยสูงและสังคมยอมรับหญิงที่ทำแท้งให้กลับเข้ามาอยู่ในสังคมได้

          อีกประเด็นปัญหาในเรื่องของการค้าประเวณีในต่างประเทศคือประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้มีกฎหมายกำหนดให้การค้าประเวณีเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายรัฐเข้าดูแลควบคุมการค้าประเวณี โดยอนุญาตให้มีการค้าประเวณีได้ซึ่งผู้ค้าประเวณีต้องลงทะเบียนและเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการค้าประเวณีนั้นต้องเกิดในสถานที่ที่รัฐจัดไว้ให้ ซึ่งการเกิดกฎหมายนี้เกิดจากการที่ประชาชนสวิตเซอร์แลนด์ร่วมกันลงประชามติให้เกิดขึ้น และในปัจจุบันประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดตั้งพื้นที่บริการการค้าประเวณีให้เหมาะสมและมีความปลอดภัยมากขึ้นโดยการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย และเพิ่มตำรวจเข้ามาดูแลสถานบริการ รวมทั้งรัฐเข้ามาร่วมวางแผนและอบรมเกี่ยวข้องกับกฎหมายกับผู้ค้าประเวณีอย่างเคร่งครัด

          ถึงแม้ว่าต่างประเทศไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า ได้นำทฤษฎีเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักการกำหนดใจตนเองมาใช้ในการแก้ปัญหาการทำแท้งและการค้าประเวณี แต่เมื่อพิจารณาถึงกฎหมายของประเทศเหล่านั้นแล้วจะเห็นได้ว่า กฎหมายดังกล่าวมีการคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านั้นโดยเฉพาะเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักการกำหนดใจตนเองโดยการอนุญาตให้สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย

          ปัญหาการทำแท้งและการค้าประเวณีในประเทศไทย สาเหตุหลักเกิดจากการที่สังคมมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการกระทาที่ผิดศีลธรรม และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยการทำแท้งในประเทศไทยเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานทุกชนชั้นและสังคมประสบปัญหานี้ โดยไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

          การทำแท้งในประเทศไทย กฎหมายไทยมุ่งเอาผิดแก่หญิงที่ทำแท้งและบุคคลใด ๆ ที่ทาให้หญิงนั้นแท้ง แม้จะมีกฎหมายรองรับการทำแท้งอย่างถูกกฎหมายของหญิงนั้นได้ โดยต้องเป็นการกระทาที่เข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้คือต้องเป็นครรภ์ที่เกิดจากการกระทาที่ผิดกฎหมาย หรือครรภ์นั้นเป็นอันตรายแก่หญิงและสังคมไทยไม่เห็นด้วยกับการทำแท้งอย่างยิ่งเพราะยึดถือเรื่องศีลธรรม และอ้างว่าสังคมไทยเป็นสังคมชาวพุทธไม่ควรเกิดสิ่งเหล่านี้เพราะจะทาให้สังคมเสื่อมทราม

          ปัญหาการค้าประเวณีของไทยในสมัยก่อนไม่ได้ระบุว่าเป็นการกระทาที่ผิดกฎหมาย แต่การค้าประเวณีในสมัยก่อนระบุว่าหญิงที่ค้าประเวณีนั้นเป็นหญิงที่กระทาผิดจนโดนขายให้มาค้าประเวณี สิ่งเหล่านี้จึงส่งผลให้ภาพลักษณ์ของการค้าประเวณีเป็นเรื่องที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ผิดศีลธรรม ผู้ค้าประเวณีถูกมองว่าเป็นเพียงวัตถุทางเพศ แต่ภายหลังมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ทาให้การค้าประเวณีนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาดไม่ว่าผู้ค้าประเวณีหรือผู้ซื้อประเวณีต่างมีความผิดทั้งหมด

          แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายออกมาเพื่อหวังจะแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่สังคมไทยก็ยังเกิดการทำแท้งเถื่อนและการค้าประเวณีอยู่ดี และเมื่อพิจารณากฎหมายการทำแท้งและการค้าประเวณีของไทยนี้เห็นได้ชัดว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ได้นำหลักการกำหนดใจตนเองและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของมนุษย์มาปรับใช้ในการตรากฎหมายเลย โดยเห็นได้จากการที่กฎหมายของไทยไม่เปิดโอกาสให้หญิงนั้นเลือกได้ด้วยตนเองตามหลักการกำหนดใจว่าตนจะเลือกทำแท้งหรือเก็บครรภ์ที่ตนคิดว่าจะทาให้ชีวิตเป็นปัญหานั้นไว้หรือไม่ ทั้งยังไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของหญิงว่าจะเลือกยึดถือสิ่งใด และในประเด็นเรื่องกฎหมายการค้าประเวณีก็เช่นเดียวกัน คือไม่นาหลักสิทธิการกำหนดใจตนเองมาปรับใช้กับกฎหมายเลยเพราะกฎหมายห้ามการค้าประเวณีอย่างเด็ดขาด ดังนั้นบุคคลใด ๆ ไม่มีสิทธิเลือกด้วยตนเองว่าจะประกอบอาชีพนี้เสมือนเป็นการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานในด้านนี้ รวมถึงการตัดสินศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยบรรทัดฐานของสังคมแต่ไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บุคคลเหล่านั้นยึดถืออีกด้วย

 |   |  3279 ครั้ง